วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 4 ตอเต้า เอ๋อเล๋อ

มีคนบอกเราว่า บทที่ 2 และ 3 แสดงถึงความเกียจคร้านของคนเขียน หึ ใช่ซี้....



ในกรณี ขอยอมรับอย่างหน้าด้านๆ ว่าจริง ก่อนจะขอแก้ตัวว่า นั่นหนะแสดงถึงความขยัน ในอนาคตะหาก อย่าไรเสีย ในอนาคตก้อจะทำแน่ๆแต่ไม่รู้เมื่อไหร่



มาเริ่มบทนี้เลยละกันคะ บทนี้จะพูดถึง ตอเต้า เอ๋อเล๋อ มันคือไรน้า มาดูตัวอย่างกัน

ต่อไปนี้เป็นคำถามทางวิชาการที่คิกค้น มาเพื่ออธิบายเรื่องนี้โดยเฉพาะ



1. หากคุณมีแฟนที่เพิ่งคบกัน คุณคิดว่าเขาจะจำ รายละเอียดสำคัญต่างๆของพวกคุณได้ถูกต้อง (accuracy) แค่ไหน

ก. จำได้ทุกวันไม่มีพลาดเรยคะ ทั้งวันเกิด วันเดทกันครั้งเเรก วันแต่ง วันเริ่มจำมือ สถานที่ ที่กินข้าวด้วยกัน อาหารที่ชอบ อิอิ แม้กระทั่ง กลิ่นกายก้อมิเคยลืม (ดีนะ)

ข. ไม่รู้เป็นไร ชอบจำผิด วัน กว่าจะจำได้ก้อเลยวันนั้นไป 1 วันทุ๊กที (เอ๋อเร๋อนะ)

ค. จำได้บ้างไม่ได้บ้าง (นี่ยิ่งแล้วใหญ๋ เอ่อเร๋อมากๆ)

ง. ไม่เคยจะจำได้ ชิชิ งอล (เอ๋อเร๋อเป็นที่สุด)



ไม่มีใคร ที่ perfect 100% นะคุณๆ ผู้ชาย มันหายาก

หลังจากตอบโจทย์ข้อนี้แล้ว ลองถามตัวเองว่าควร จะเลิกดีหรือไม่ สำหรับคนที่เลือกข้อ 1 คงตอบไม่ บางคนที่เลือกข้อ ข อาจตอบว่า เลิกคะ แต่ในขณะที่คนที่ตอบ ง. อาจบอกว่าไม่เป็นไร รับได้



เป็นธรรมดาคะ เพราะเกณฑ์ในการยอมรับได้ หรือไม่ได้มันต่างกันไปในแต่ละคน (บางคนแฟนลืมวันเกิดนี่เลิกเลย บางคนแฟนไปมีใหม่ยังไม่เลิกเลย 555) แต่ถามว่า ความเอ๋อเร๋อของแฟน สุดๆ ที่ยอมรับได้คือเท่าไหร่ คุณๆ ที่อ่านบทความนี้ยังตอบไม่เท่ากันเลย



เช่นเดียวกันคะ



โดยปกติวิธีการทดสอบ (Method)ที่เรานำมาใช้ในการตรวจ test ต่างๆ นั้นเป็นธรรมดาที่มันจะ มีเอ๋อเร๋อ (error)บ้าง (ทีคนยังมีได้ ) คำถามเดิมคือคุณจะยอมรับเอ๋อเร๋อ (error)นั้นได้หรือไม่ และเกณฑ์ที่ใช้ยอมรับเอ๋อเร๋อนี้คืออะไร



มาอธิบายเรื่องเอ๋อเร๋อ (Error) กันก่อนนะ คนแต่ละคนยังมี เอ๋อเร๋อ หลายแบบ ติดเกมส์ บ้าหวย มาช้า ติดบอล ส่วนเครื่อมือ หรือวิธีการที่เราใช้ตรวจวิเคราะห์นั้นมีเอ๋อเร๋ออยู่แค่สองแบบคือ

1. Random error (RE)(เอ๋อเร๋อเป็นบางครั้ง)

2. System error (แม่ง เอี๊ย สม่ำเสมอ) Systemic error ยังแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ

- Constant systemic error (CE)(เช่น เมื่อก่อนเอ๋อ เยี่ยงไนตอนนี้ก้อยังเป็นอยู่) ในกรณีนี้หมายถึง ไม่ว่าจะเป็นช่วงค่าต่ำ กลาง หรือสูง method เราก้อจะให้ค่าที่เพี้ยนเท่าๆ กัน เช่น ถ้าเครื่องเรามี Constant systemic error ในการตรวจวัด กลูโคสอยู่ที่ - 3 หมายความว่า ไม่ว่าช่วงค่าต่ำ กลาง หรือสูง เครื่องเราจะวัดค่ากลูโคส ต่ำต่างจากค่าที่แท้ติด อยู่ 3



ไม่ไหวเเระ ไปนอนก่อนนะ ง่วง

6 มิ.ย. 09


กลับมาเเล้วค้า >_< เขียนถึงไหนแระเนี่ยอ่อ ถึงหัวข้อ Systemic error
ยังเหลือ systemic error อีกประเภทหนึ่ง คือ
- Proportional systemic error (PE) แปลเป็นไทย สไตล์ชะนี คือ การเกิด error แบบเป็นสัดส่วน หมายความว่า ในช่วงที่ค่าต่ำๆ นั้น error จะยังต่ำอยู่ แต่ยิ่งค่าที่ตรวจวัดสูงขึ้นเรื่อยๆ error ก้อมีมากขึ้นด้วย โอ้แม่เจ้าอะไรกันนี่ คล้ายกับตอนคบกันใหม่ๆ ก้อเอ๋อเร๋อน้อย แต่ยิ่งคบนานยิ่งมีมาก อะไรงี้ไงคะ

นะพอมองออกบ้างแล้วว่า method ที่เรานำมาใช้ตรวจวัดนั้นสามารถมี error อะไรได้บ้าง
step ต่อมาคือแล้วเราจะรู้ได้ไงละ ว่า ตอนนี้ method (หรือเครื่อง) ของเรามี error ไรบ้าง

ง่ายมาก ง่ายพอๆกับ กะเล่น hi5 นั่นแหละ

1. อยากทราบว่าเครื่องเรามี Random error ไหม ก็เช็ค Precision สิ ชิมิ ถ้าเครื่องเรานิ่ง ก็แสดงว่ามี random error น้อย วิธีการเช็ค imprecision นี้แน่นอนอยู่ในบทที่ 2 นะคะ

2. อยากทราบว่าเครื่องเรามี systemic error ไหม ก็ง่ายอีก เช็คสิว่า accuracy เป็นอย่างไร ถ้าเครื่องเราไม่มี systemic error แน่นอนว่า ค่า % bias ที่ได้จากการค่า inaccuracy มันก้อน้อย จิงไหม บทที่ 3 นะคะ ตามไปๆ

เมื่อได้ error จาก 2 ข้อนี้มาแล้ว เราก็มาหา total error ของ method เราว่าได้เท่าไหร่ จากสูตรคือ

TE = 2RE + Bias

สมมุติว่าเราได้ CV = 3 bias = 2 กรณีนี้ TE ของเลปเราคือ (3*2) + 2 = 7 นั่นเอง (อ่าวเชื่ออีก มั่วละ 8 ตะหาก)

ข้าม step นั้นมาสู่ step ต่อไปนะคะ ที่นี้เมื่อเราได้ทราบแล้วว่า total error ของเครื่องเราตอนนี้มีอยู่เท่าไหร่ เราก้อต้องมาถามตัวเอง ก่อนว่า error ที่อยู่นั้น ยอมรับได้ไหมอะ

เออ นั่นหนะสิ ใช้เกณฑ์อะไร

ตายละทำมาตั้งเยอะ สรูปผล ไงเนี่ย >__< T_T

อืม กลับมาคะ ขออย่าได้ งง กะชีวิตมากนัก กำลังจะเฉลย

เกณฑ์ ก้อคือ TE ของเราต้องไม่เกิน ครึ่งนึง ของ TE a (Allowable Total error) จึงจะสามารถใช้เครื่อง นั้น Method นั้นของผลคนไข้ได้ (westgard เค้าบอกมา)

เอาสูตรงดงามไป

TE < 0.5 * TEa

เอาละ ลองมาเทียบสิ ของเรา TE ที่เราหาได้เมื่อกี้คือ 8 มันต้องเป็นครึ่งนึงของ TEa แล้ว TEa = 30% ดังนั้น 30/2 = 15 โอ้ ผู้เขียนรอดแล้วเพราะ 8 มันต่ำกว่า 15

ผู้เขียนรอด แต่คนอ่านไม่รอด เพราะคนอ่านไม่รู้ว่า 30 มาจากไหน โอ๊ะๆ คุณจะรู้ได้คุณต้อง สวยและฉลาด รักเด็ก ก่อนนะเค๊อะ อุอุ

ขอชมตัวเองนิสส นึงก่อนจะเข้าสู่ประเด็น

TEa หาจากไหนหนะเหรอคะ คำตอบคือ หาจากเน็ตค้า ใช้ กูเกิ้ล search คำว่า allowable total error ขึ้นมาเต็มเลย

ขออนุญาต อธิบาย TEa หน่อยนะคะ มองคำว่า allowable แล้วจงคิดไปถึงคำว่า maximun TE a ในที่นี้หมายถึง error สูงสุด ที่จะยอมรับเกิดขึ้นได้สำหรับ test นั้นๆ
ซึ่งเเน่นอนโดยธรรมชาตของ test ต่างๆ ไม่ควรจะเท่ากันอยู่แล้ว เช่น ALT ค่าคนไข้ 200 แต่เครื่องเราวัดได้ 204 ยอมรับได้ไหม ใครตอบยอมรับไม่ได้ รบกวนคนใกล้ตัว หยิกเอวที แค่ต่างกัน 4 แต้มแค่นี้ หมอให้การรักษาคนไข้ที่ไม่ ต่างกัน

แต่ลองมาเป็น Potassium (K) 4 กับ 8 ต่งกัน 4 แต้มเหมือนกัน ในกรณีนี้คุณควรเปลี่ยน Method โดยด่วน เพราะ 4แต้มใน test นี้มีความสำคัญทางคลินิค

แนะนำคือ ใช้ TEa จาก CLIA 88 คะ ตอน serach เพิ่มคำว่า CLIA ลงไปเลยก้อได้นะคะ

















วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

- การหาค่า Inaccuracy

ค้างไว้ก่อง ขี้เกียจ ครบ 3 comment เมื่อไหร่ค่อยเขียน อิอิเล่นตัว

www.westgard.com ระหว่างรอ หาจากในนี้ไปก่อนนะคะ

http://chaneesouy-uualbumin075.blogspot.com/

การหาค่า Precision

ยังไม่เขียนอะคะ

รอเเรงใจหน่อย ใครอยากให้เขียนก้อช่วยๆ กระตุนนะ ตอนนี้ทำ plan ไว้ก่อนเด๋วจะลืม


ระหว่างรอลองอ่านบทความของ westgard ในเวป www.westgard.com ไปก่อนนะคะ

วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

Clinical Laboratory Performance Verification




ทำงานเกี่ยวกับการ verify Performance ของเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์มาช่วงเวลาหนึ่ง ทั้งเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจอย่างมากในเวลานี้ ใครๆ ก็ทำได้ (แต่ไม่ค่อยอยากทำ) วันนี้มีอารมย์วิชาการ เลยอยากเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาจากประสบการณ์ (อิงวิชาการ หน่อยๆ ) อะเริ่มกันเลย

มี 2 วิธี ที่ใช้ในการ Verify Performance ของ Method หรือเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการใครถนัดแบบอื่นก็ได้นะคะ แต่ที่เลือกสองแบบนี้เพราะเป็นวิธีที่ทำได้ง่าย และอ้างอิงได้จากเอกสารทางวิชาการ ได้แก่
1. Verify Performance โดยใช้ Medthod decision chart และ
2. ใช้ Sigma metric

1. Medical decision Chart
หน้าตาเป็นเยี่ยงนี้คะ



อธิบายเล็กๆ ดังนี้

Medical Decission Chart จะแบ่งพื้นที่ใต้กราฟออกเป็น 4 ส่วน เพื่อบอก Performance ของ วิธีทดสอบ หรือ เครื่องมือที่ใช้ตรวจวิเคราะห์ ว่าอยู่ในระดับใด ได้แก่ Excellent, Good, Marginal, และ Poor
กราฟนี้เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง ค่า Imprecision และ Inaccuracy ดังนั้นถ้าจะ plot กราฟนี้ได้ต้องหาค่า inaccuracy และ Imprecion เลียก่อนนะ วิธีการหาค่านี้สามารถ Search ได้จาก google ข้างๆ ของบล๊อกนี้ได้เลยจ้า ก๊อปมาวงไว้เเล้ว (พิมพ์ว่าImprecision experiment/ Inaccuracy experiment ก้อด้ายยยย )

หากได้ค่า Inaccuracy และ Imprecision แล้ว ที่นี้ก้อมาถึงวิธีเขียนกราฟละนะ

step 1. ต้องทราบค่า TEa ของ test นั้น TEa table by CLIA 88 search คำนี้นะคะ
เช่น TEa ของ GLUCOSE = 10% (แปลความหมายง่ายๆ คือ error สูงสุดที่ยอมรับได้ หากเครื่องมือที่เราใช้ออกผล GLUCOSE ของคนไข้ให้ Error มากเกินขนาดที่เค้ารับได้ ก้อต้องปรับปรุง หรือเปลี่ยนวิธี ซะนะจ๊ะ)


เมื่อทราบ TEa แล้ว ก้อมาถึงขั้นตอน แบ่ง กราฟออกเป็น 4 ส่วน โดยแกน x คือ allowable imprecion ส่วน แกน Y คือค่า allowable inaccuracy

เด๋วมาไปอาบน้ามก่องนะ

OK มาละ เกณฑ์การแบ่งคือ
1. ณ จุดบนแกน Y นี้ ลากเส้นจาก จุด TEa ไปที่ แกน x 3 จุด ได้แก่ 1). ณ จุด TEa/2 2). ณ จุด TEa/3 3. จุด TEa/4 ตัวอย่าง สุมมุติ ว่า กลุโคส TEa = 10% ดังนั้นบนแกน Y เราก็จะลากจาก เลข 10 ไปตัดบนเเกน X ที่ 10/2 , 10/3 และ 10/4 ดังภาพ





ไม่ชัดไปหน่อยนะคะ ไม่เป็นไรน้า

2. เมื่อได้ กราฟ สี่ส่วนแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ นำค่า Inaccuracy และ Imprecision มา plot ลงไป หาจุดที่เรา plot ตกอยู่ใต้เส้นกราฟ สีฟ้า (พื่นที่ซ้ายสุด) แสดงว่าวิธีที่เรานำมาตรวจวิเคราะห์ กลูโคสนั้น มี Performane แย่ในขั้นดีเยี่ยม ถัดมาคือ Good performance, Marginal และ Poor ตามลำดับจ้า

อะนี่ยกให้สำหรับใครที่อยากได้คำอธิบายการแปลผล การ verify แบบ เด๊ะๆ


Result Interpretation

1.Excellent performance
clearly acceptable
easy to manage in routine service
require only single rule QC procedure

2. Good performance
meet the requirement for daily
well-managed in routine service
require the implementation of the multiple QC procedure with 4 – 6 controls per run

3. Marginal performance
Provide the desired quality when everything is working correctly
Very difficult to manage in routine operation
Require a Total QC strategy
Require well trained operators
Reduce rotation of personnel
Carefully monitoring of patient result
Continual efforts to improve the performance

4. Poor performance
Does not meet the requirement for quality
Unacceptable for routine operation